วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

จัดตารางอ่านหนังสือสอบ ก.พ. ภาค ก

               มาค่ะ ใครอยากเป็นข้าราชการ ก็ต้องผ่านด่านนี้กันก่อน นั่นคือการสอบ ก.พ. ภาค ก. หรือที่เรียกว่า การสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ที่จะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง (ในการสอบแบบปกติ) การเตรียมตัวต้องเตรียมกันเป็นปีเลยค่ะ เพราะวิชาที่ใช้สอบมีมากมาย และเวลาในการสอบมีจำกัด วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องการเตรียมตัวเบื้องต้น ว่าจะเริ่มอ่านจากวิชาไหน เรามาดูกันก่อนค่ะ ว่าหลักสูตรที่ใช้สอบมีอะไรบ้าง

               1. วิชาความสามารถทั่วไป และภาษาไทย (150 คะแนน เป็นความสามารถทั่วไป 100 คะแนน ภาษาไทย 50 คะแนน)  ซึ่งในส่วนนี้ จะต้องได้คะแนนมากกว่า 60%

               2. วิชาภาษาอังกฤษ (50 คะแนน และคะแนนในส่วนนี้ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 60%) ซึ่งถ้าใครมีผลคะแนน TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP) TOEIC IELTS CU TEP หรือ TU GET ที่ยังไม่หมดอายุ และได้คะแนนไม่น้อยกว่า 50% ของการสอบนั้น

               ขอเริ่มจากภาษาอังกฤษก่อนค่ะ ภาษาอังกฤษมี 25 ข้อ 50 คะแนน ฉะนั้นถ้าจะให้ผ่าน ต้องทำข้อสอบได้มากกว่า 13 ข้อ แบ่งออกเป็น บทสนทนา  (conversation)  5 ข้อ คำศัพท์ (vocabularies) 5 ข้อ ไวยากรณ์ (Gramma)  5  ข้อ และบทความ 10 ข้อ

               เราต้องดูว่าใน 4 ส่วนนี้ ทำส่วนไหนได้ดีที่สุด จัดลำดับ 1 - 4 เลยค่ะ ส่วนที่ทำได้ดีมาก ต้องได้คะแนนเต็มเท่านั้น นั้นหมายความว่าเราจะอ่านในส่วนที่ทำได้ดี แล้วสรุป จากนั้นเราจะไม่แตะอีก จนกว่าจะถึงช่วงใกล้สอบ เกณฑ์ผ่านคือ 13 ข้อ ถ้าเราถนัดบทสนทนา ตั้งเป้าไว้เลย จะต้องทำได้ไม่น้อยกว่า 3 ข้อ สาเหตุที่ให้ 3 - 4 ข้อ เพราะในทุกส่วน จะมีข้อยากอย่างน้อย 1 ข้อเสมอ ให้เราตั้งมาตรฐานต่ำสุดไว้ก่อน ถ้าในส่วนนี้ทำได้ 3 ข้อ จะสอบผ่าน ยังขาดอีก 10 ข้อ ให้ดูลำดับ 2 ค่ะ ถ้าลำดับ 2 คือคำศัพท์ ก็ให้ตั้งขั้นต่ำไว้ที่ 3 ข้อ เช่นกัน สมมุติว่าแกรมม่าและบทความไม่ได้เลย เรามีแน่ ๆ แล้ว 6 ข้อ ยังขาดอีก 8 ข้อ ช่วงเตรียมตัวสอบ ให้อ่านส่วนที่ไม่ได้ก่อน

               มาต่อที่ภาษาไทยค่ะ มี 25 ข้อ 50 คะแนน ข้อละ 2 คะแนนนั่นเอง แบ่งเป็น เรียงลำดับข้อความ  อ่านจับใจความบทความ  ความเข้าใจบทความสั้น  การใช้คำที่ถูกต้อง เหมาะสม ทำแบบเดียวกับภาษาอังกฤษเลยค่ะ

               มาถึงส่วนที่คะแนนสูงมากกก คือความรู้ทั่วไป  แบ่งเป็น อนุกรม 5 ข้อ โจทย์คณิต  5 ข้อ ตารางข้อมูล  5 ข้อ ตรรกะ 5 ข้อ เงื่อนไขภาษา 5 ข้อ เงื่อนไขสัญลักษณ์ 5ข้อ อุปมาอุปไมย 5 ข้อ    ประมาณนี้ แต่จริง ๆ มันเยอะกว่านี้นะ

               และในปี 2563 จะเพิ่มวิชากฎหมายเข้ามาด้วย ก็ไม่ทราบว่าทางสำนักงาน ก.พ.จะจัดเรื่องจำนวนข้อและคะแนนอย่างไร แต่ให้ดูจากข้อสอบเก่า ๆ แล้วลองแบ่งแบบนี้ดู จัดลำดับให้กับเรื่องที่จะสอบ เพื่อจัดตารางการอ่านหนังสือได้เหมาะสม

               โดยธรรมชาติ คนเราไม่อยากทำสิ่งที่ไม่ชอบอยู่แล้วค่ะ ถ้าเรามีเวลาอ่านหนังสือ 5 วัน ต่อสัปดาห์ ให้อ่านวิชาที่ไม่ชอบ 3 วัน วิชาที่ชอบ 2 วัน โดยสลับวันกัน เราจะได้ไม่เครียดมาก วิชาที่ชอบหรือถนัดก็ไม่ต้องไปใช้เวลากับมันมากค่ะ ยิ่งถ้าเราเข้าใจแล้วว่าส่วนนั้น ๆ มีหลักการทำอย่างไร ก็ไม่ต้องอ่านเลย ลุยทำโจทย์อย่างเดียวพอค่ะ ถ้าเราเจอส่วนที่ไม่เข้าใจอะไรเลย พยายามแล้วก็ไม่เป็นผล อย่าไปเสียเวลากับมันค่ะ มาอ่านวิชาอื่น หรือส่วนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มคะแนนดีกว่า

               ตัวอย่างนะคะ พลอยไม่ถนัดโจทย์คณะเลยค่ะ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ ถ้าดันทุรังจะเสียเวลาไป 1 เดือนโดยที่ไม่ได้อะไรอยู่ดี พลอยก็ทิ้งเลยค่ะ ไม่อ่านเลย แล้วไปอ่านส่วนที่ถนัดกลาง ๆ เพื่อเพิ่มความชำนาญ และดึงคะแนนให้มาสูงเทียบเท่าส่วนที่เราถนัดมาก ใช้เวลาอ่านและทำความเข้าใจ 2 อาทิตย์ค่ะ ส่วนอีก 2 อาทิตย์ก็ไปอ่านอีกส่วน ถ้าตอนแรกประมาณการไว้ว่าส่วนที่เราถนัดกลาง ๆ จะทำข้อสอบได้ 2 ข้อ อ่านแบบนี้คะแนนจาก 2 จะเป็น 4 ทำได้ 2 ส่วนก็เท่ากับตอบถูกเพิ่มขึ้น 4 ข้อ ได้คะแนนเทียบเท่ากับวิชาที่ถนัดมาก ไม่เสียเวลา ไม่ปวดหัว ไม่เสียสุขภาพจิต

               แต่สำหรับคนที่ไม่เคยสอบมาก่อน วิธีแบบนี้ก็ยากหน่อยค่ะ เพราะไม่เคยเห็นข้อสอบ ต่างจากคนที่เคยสอบมาแล้วหลายครั้ง คนที่เพิ่งสอบครั้งแรกให้หาแนวข้อสอบมาดูก่อนเลยค่ะยิ่งไม่คุ้ยเคยข้อสอบยิ่งต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานกว่าคนอื่น

แบ่งตามความเหมาะสมนะคะ แนะนำมากกว่านี้ไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีการดำเนินชีวิต ความรู้ ความสามารถ ความถนัดไม่เหมือนกัน ต้องจัดตารางเอาเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น