วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การเก็บเอกสาร

               ไม่ว่าหน่วยงานใด ๆ การเก็บเอกสารนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้งานด้านอื่น ๆ เอกสารแต่ละประเภทมีความสำคัญไม่เท่ากัน ระยะเวลาการเก็บรักษาแต่ละประเภทก็ไม่เท่ากัน และเอกสารยังเป็นแหล่งอ้างอิงในการทำงาน การเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการค้นหาจึงเป็นเรื่องสำคัญ

เอกสารแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. หนังสือเข้า คือเอกสารที่ได้รับจากภายนอก
2. หนังสือออก คือเอกสารที่หน่วยงานทำขึ้นแล้วส่งออกไปภายนอก
3. หนังสือติดต่อภายใน คือเอกสารที่ใช้ติดต่อกันภายในหน่วยงาน

เอกสารทางธุรกิจ  มี 2 แบบ คือแบบจดหมาย และแบบฟอร์ม ได้แก่

1. เอกสารการซื้อขายสินค้า หรือที่เรียกว่า เอกสารการค้า เช่น ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ ใบส่งของ ใบลดหนี้ ใบรับคืนสินค้า เป็นต้น
2. เอกสารการเครดิตและการเงิน เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต หนังสือค้ำประกัน เป็นต้น
3. เอกสารประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันภัย
4. เอกสารการขนส่ง เช่น ใบตราส่งสินค้า ใบสั่งปล่อยสินค้า บัญชีสินค้าในเรือ เป็นต้น
5. เอกสารการนำเข้าและการส่งออก เช่น ใบตราส่ง ใบขนขาเข้า ใบกำกับหีบห่อสินค้า ใบขนขาออกเป็นต้น

               นอกจากนี้ยังมีเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ในการวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ รายงาน ของธุรกิจ เช่น สัญญา กฎ ระเบียบ คำสั่ง รายงาน คู่มือปฏิบัติงาน จดหมายธุรกิจ สถิติ งานวิจัย นิตยสาร แคตตาล็อก ทะเบียนบุคคล เป็นต้น

               หนังสือราชการ มีด้วยกัน 6 ประเภท แต่ในบทความนี้จะไม่ขอพูดถึง ขอยกไปไว้บทความหน้าค่ะ

วงจรของเอกสาร มีดังนี้


               การเก็บเอกสารแยกตามประเภท หมวดหมู่ เป็นระเบียบ ช่วยให้สืบค้นเอกสารได้ง่าย เอกสารไม่ชำรุดเสียหาย สะดวกในการนำมาใช้งาน เมื่อมีเอกสารหายไปก็ทำให้สามารถทราบได้ว่าอะไรหายไปบ้าง นอกจากนี้หลักการเดียวกันนี้ยังใช้กับการจัดเก็บอย่างอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นของสะสม หนังสือ หรือการจัดการไฟล์บนคอมพิวเตอร์ก็ตาม

ระบบการเก็บเอกสาร

1. การเก็บตามลำดับตัวอักษร นิยมใช้กับเอกสารทุกประเภท เรียงตามพยัญชนะ
2. การเก็บตามชื่อภูมิศาสตร์ นิยมใช้กับธุรกิจที่มีสาขา หรือหน่วยงานที่อยู่ที่ต่าง ๆ โดยเก็บตามชื่อคน หรือชื่อสถานที่ และเรียงเป็นหมวดหมู่
3. การเก็บตามหัวข้อเรื่องหรือชื่อเรื่อง แล้วเรียงตามหมวดหมู่ หรือประเภท
4. การเก็บตามตัวเลข โดยใช้ตัวเลขแทนชื่อเรื่อง แล้วเรียงจากน้อยไปมาก
5. การเก็บตามวันที่ในปีปฏิทิน
6. การเก็บตามสี โดยแบ่งหมวดหมู่ตามสี

ลำดับตัวอักษรไทย

พยัญชนะ     ก - ฮ
สระ               ะ      ั     า     ำ       ิ      ี      ึ       ื     ุ      ู     เ      แ    โ     ใ     ไ
วรรณยุกต์        ็     ่      ้     ๊     ๋     ์

               ลองนำไปปรับใช้กันดูค่ะ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีการเก็บเอกสารแบบกระดาษกันมากนักนิยมเก็บในรูปของไฟล์ การเก็บเอกสารในตู้เหล็ก และมีการนำบัตรนำ บัตรหลัก แยกตัวอักษร ก็ไม่ค่อยมีให้เห็นกันแล้ว แต่หลักการเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้เพื่อช่วยในการเก็บเอกสารต่าง ๆ

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

             อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีการสอบ ก.พ. ภาค ก. (พิเศษ) นั่นคือสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่เราจะเข้าไปสอบ ก.พ. ภาค ก.(พิเศษ) ได้นั้นก็ต้องฝ่าด่านภาค ข. ไปเสียก่อน สำหรับตำแหน่งนี้มาดูกันค่ะว่าต้องอ่านอะไรบ้าง

ประวัติ
โครงสร้างหน่วยงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน อื่น ๆ

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553
- พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 พ.ศ.2562
- พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559
- พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562
- พรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็ฐรักษษเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
- มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ.2555
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ.2551
- ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544

               นอกจากนี้ ยังมีภาษาอังกฤษ และความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปีด้วย จะเห็นว่าของหน่วยงานนี้มีระเบียบที่ต้องอ่านเยอะมากกว่ากรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ที่สำคัญหลาย ๆ ระเบียบใช้ในการสอบเป็นข้าราชการท้องถิ่น มีระเบียบที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีไม่กี่ระเบียบ

               7 ระเบียบแรกข้างต้น ยังเป็นวิชาที่ 3 ที่ ก.พ. ภาค ก. ปี 63 จะใช้สอบอีกด้วย ถ้าใครสอบของที่นี่ ก็ถือว่าอ่านระเบียบล่วงหน้าเผื่อการสอบ ก.พ.ไปในตัวเลย

               จะทยอยมีสรุปและแนวข้อสอบออกมาให้เรื่อย ๆ ซึ่งหลาย ๆ ระเบียบ ก็คงออกไม่ทันวันสอบที่จะถึงในวันอาทิตย์นี้ แต่เชื่อว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางให้กับใครหลาย ๆ คนที่อาจจะยังไม่ทราบว่าตัวเองจะต้องอ่านอะไรบ้าง

มีอะไรใหม่ใน ก.พ. ภาค ก. 63



               เห็นแล้วชวนงงเป็นที่สุด เมื่อเลื่อนลงไปด้านล่างก็มีตัวอย่างแบบข้อสอบให้อยู่ค่ะ แบ่งระดับพร้อมเลย ก็ลองคลิกเข้าไปดู เราเลือกดูของ ป.ตรี และ ป.โท นะคะ

วิชาที่ 1 อนุกรม, สดมภ์, คณิตศาสตร์ทั่วไป, ตารางสถิติ, เงื่อนไขภาษา, อุปมาอุปไมย, ตรรกศาสตร์, เงื่อนไขสัญลักษณ์, การใช้ภาษา, การเรียงประโยค

วิชาที่ 2 ภาษาอังกฤษ  25 ข้อ 50 คะแนน

จาก 2 วิชานี้จะเห็นได้ว่าข้อสอบเหมือนเดิมค่ะ มีเหมือนปีก่อน ๆ ทุกประการ  เพิ่มเติมวิชาที่ 3 มาเท่านั้น

วิชาที่ 3 ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

               ซึ่งคาดว่าจะมี 25 ข้อเช่นกัน 50 คะแนน เกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เรื่องจริยธรรมของข้าราชการ ถ้าใครเคยสอบท้องถิ่นมาแล้วก็จะทราบดีว่าระเบียบเหล่านี้ใช้ในการสอบท้องถิ่นด้วยเช่นกัน ในอนาคตข้าราชการ ก.พ.อาจจะสามารถโอนไปเป็นข้าราชการท้องถิ่น และ และข้าราชการท้องถิ่นก็สามารถโอนมาเป็นข้าราชการ ก.พ.ได้เช่นกัน

              ในส่วนของวิชาที่ 3 ใช้แค่ความขยันเท่านั้นค่ะ อ่านแล้วจำ จำให้แม่น ๆ ฉะนั้นต้องอ่านให้เยอะ ๆ อ่านหลาย ๆ รอบเข้าไว้ ที่สำคัญในปี 2563 นี้จะไม่มีการสอบซ่อมภาษาอังกฤษอีกต่อไป ใครไม่เก่งภาษาอังกฤษรีบฟิตไว้ก่อนการสอบในปีหน้าเลยค่ะ

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สรุป ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562

สรุป ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562

               ระเบียบนี้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และเพื่อให้ส่วนราชการสามารถนำเงินทดรองราชการไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายปลึกย่อยในการปฏิบัติราชการได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ

              ข้อ 2 ระเบียบนี้บังคับใช้วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

               ข้อ 5 ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้

              ข้อ 6 การปฏิบัติในกรณีที่ระเบียบนี้ไม่ได้กำหนดไว้ หรือการยกเว้นการปฏิบัติในระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

              ข้อ 7 ให้เจ้าของงบประมาณมีเงินทดรองราชการตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
             กรณีที่จำเป็น หรือมีเหตุผลอันสมควร กระทรวงการคลังอาจพิจารณาเพิ่ม ลด หรือยกเลิกวงเงินทดรองราชการของส่วนราชการเจ้าของงบประมาณได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับฐานะการคลังของประเทศ
               เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเพิ่ม ลด หรือยกเลิกวงเงินทดรองราชการตามวรรคสองให้ส่งรายงานการจ่ายเงินทดรองราชการไปยังกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
               ในกรณีที่มีการลดหรือยกเลิกเงินทดรองราชการ ให้นำเงินทดรองราชการที่กระทรวงการคลังสั่งลดหรือยกเลิกส่งคืนคลังทันที

               ข้อ 8 เงินทดรองราชการที่ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้นำไปพิจารณาแบ่งสรรแก่หน่วยงานในสังกัดตามความเหมาะสม

               ข้อ 10 การเบิกเงินจากคลังเป็ฯเงินทดรองราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้เบิกเงินจากคลัง
               ผู้เบิกเงินทดรองราชการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง

               ข้อ 11 ให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณและหน่วยงานในสังกัดเก็บรักษาเงินทดรองราชการเป็นเงินสด ณ ที่ทำการ ไว้เพื่อสำรองจ่ายได้ ดังต่อไปนี้
               (1) ส่วนราชการผู้เบิกในส่วนกลาง ให้เก็บรักษาได้แห่งละไม่เกิน 100,000 บาท
               (2) ส่วนราชการผู้เบิกในส่วนภูมิภาค ให้เก็บรักษาได้แห่งละไม่เกิน 30,000 บาท
               (3) หน่วยงานย่อย ให้เก็บรักษาได้แห่งละไม่เกิน 10,000 บาท

               ข้อ 12 กรณีที่มีเงินทดรองมากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 11 ให้นำเงินที่เกินกว่าที่ได้รับอนุญาตฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทออมทรัพย์
               ดอกเบี้ยที่เกิดจากการนำเงินทดรองราชการฝากธนาคาร ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

               ข้อ 13 วิธีการเก็บรักษาเงินทดรองราชการให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง

               ข้อ 14 เงินทดรองราชการมีไว้สำหรับทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายดังต่อไปนี้
               (1) งบบุคลากร เฉพาะค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำแต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวันหรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง
               (2) งบดำเนินงาน ยกเว้นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
               (3) งบกลาง เฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร และเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
               (4) งบรายจ่ายอื่น ที่มีลักษณะเดียวกับ (1) หรือ (2)

              ข้อ 15 กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนในระยะต้นปีงบประมาณ แต่สำนักงบประมาณยังไม่ได้อนุมัติเงินจัดสรร ให้จ่ายเงินทดรองราชการไปก่อนได้รับอนุมัติเงินจัดสรรก็ได้

               ข้อ 16 การจ่ายเงิน ให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณและหน่วยงานในสังกัดจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เข้าบัญชีของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน
               กรณีไม่สามารถ จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้ ให้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารที่ฝากเงินทดรองราชการไว้ตามข้อ 12 อีกหนึ่งบัญชีสำหรับการสั่งจ่ายเงินทดรองราชการ โดยให้ธนาคารโอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เข้าบัญชีเงินฝากระแสรายวันเพื่อจ่ายเงินตามเช็ค

               ข้อ 17 การจ่ายเงินทดรองราชการต้องมีหลักฐานการจ่ายไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินทดรองราชการ
               การปฏิบัติเกี่ยวกับหลักฐานการจ่ายเงินทดรองราชการให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง

               ข้อ 18 สัญญาการยืมเงินให้เป็นไปตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
  
               ข้อ 19 การอนุมัติการจ่ายเงินยืมให้เป็นอำนาจของบุคคล ดังต่อไปนี้
               (1) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย
               ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค หรือแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมจะมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานเป็นผู้อนุมัติสำหรับหน่วยงานนั้นก็ได้
             (2) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วราชการในภูมิภาค

               ข้อ 20 จะจ่ายได้แต่เฉพาะที่ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงิน และผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้จ่ยเงินยืมตามสัญญาการยืมเงินนั้น โดยจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

               ข้อ 21 การอนุมัติให้ยืมเงินเพื่อใช้ในราชการ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็น และห้ามมิให้อนุมัติให้้ยืมเงินรายใหม่ในเมื่อผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน

               ข้อ 22 เงินทดรองราชการจะจ่ายได้แต่เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 9 และงบรายจ่ายหรือรายการตามที่กำหนดในข้อ 14

               ข้อ 24 การจ่ายเพื่อยืมไปเป็นค่าเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ให้จ่ายได้สำหรับการเดินทางที่ไม่เกิน 90 วัน

               ข้อ 25 ให้ผู้ยืมส่งหลักฐานการจ่ายและเงินเหลือจ่ายที่ยืมไป (ถ้ามี) ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้
               (1) กรณีเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน หรือการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ หรือกณีเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับเงิน
               (2) กรณีเดินทางไปราชการอื่น รวมทั้งการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสิบห้าวันนับแต่วันกลับมาถึง
               (3) การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจาก (1) หรือ (2) ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับเงิน

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

               เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังจะสอบก็คงจะงงไปตาม ๆ กันว่าฉันจะต้องอ่านอะไรบ้าง เพราะในส่วนของคุณสมบัติหรือการปฏิบัติงาน ลักษณะงานที่ทำนั้นก็มีกำหนดไว้ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และหลาย ๆ หน่วยงานก็ใช้ข้อความนี้มาใส่ในประกาศรับสมัครงาน

สำหรับการสอบในรอบนี้มี 2 ส่วน
1. ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน  และคอมพิวเตอร์  180 คะแนน
2. ภาษาอังกฤษ  20 คะแนน

               เราไม่รู้เลยว่าข้อสอบแต่ละส่วนจะมีกี่ข้อ  และในแต่ละส่วนจะออกเรื่องใดบ้าง ซึ่งจะสรุปแยกหัวข้อในภายหลังค่ะ  ข้อสอบจะออกเรื่องความรู้บัญชีเบื้องต้น ความรู้รอบตัว คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานก็เป็น Microsoft ทั่วไป  Word , Excel , Power Point  ส่วนที่เยอะที่สุดคือความรู้ที่ใช้ปฏิบัติงาน  ได้แก่ระเบียบต่าง ๆ ดังนี้

- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ.2562
สรุป
แนวข้อสอบ
- ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภานใน พ.ศ.2544
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้แขเพิ่มเติมถึง  ฉบับที่ 6 พ.ศ.2557
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562
- หลักการและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ.2561
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ  พ.ศ. 2540
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง  ฉบับที่3 พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
- ความรู้เกี่ยวกับระบบ GFMIS
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ  พ.ศ.2553
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

               ระเบียบมากมายเหล่านี้ เราไม่อาจทราบได้ว่าผู้ออกข้อสอบจะหยิบระเบียบใดมาออก แนวข้อสอบที่มีขายกันตามท้องตลาดก็มีหลากหลายแนว ซึ่งแต่ละแนวนั้นก็มีระเบียบไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าส่วนงานที่เราต้องไปปฏิบัติงานนั้นคือส่วนใด แต่ละส่วนก็จะมีระเบียบที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นแล้วอ่านไปให้หมดเลยค่ะ  เยอะไหม? ก็เยอะนะ แต่จริง ๆ มันมีเยอะกว่านี้อีก เราเลือกมาให้เฉพาะที่คาดว่าจะออกเท่านั้น

ประวัติและวิสัยทัศน์ พันธกิจ หน้าที่ ยุทธศาสตร์ ปริ้นจากเว็บมาอ่านได้เลยค่ะ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ หน้าที่ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม
ผู้บริหาร
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร

ติดตามในบทความต่อๆไปนะคะ จะทำสรุปและแนวข้อสอบมาฝากกันค่ะ  สู้ ๆ สอบผ่านไปด้วยกันนะคะ